เกม Path of Exile (POE)

Path of Exile Game Review
[siteorigin_widget class=”SiteOrigin_Widget_Image_Widget”][/siteorigin_widget]

เกม Path of Exile (POE)

วันนี้เราจะมาทำความรู้จักกับเกมที่กำลังเป็นกระแสอย่างแพร่หลายทั่วทั่งโซเชียล และหลายประเทศทั่วโลกต่างรู้จักกันเป็นอย่างดี ซึ่งเกมนั้นก็คือเกม POE หรือ Path of exile เกมแนว hack & Slash ของทางค่ายเกมคุณภาพอย่างค่าย GGG หรือ Grinding Gear Game ที่พัฒนามาจากเกมรุ่นพี่ในตำนานอย่าง diablo II หรือ diablo ภาคที่ 2 นั้นเอง สำหรับลูกเล่น หรือรูปแบบภายในเกมเรียกได้ว่าได้รับมรดกมาจากเกมรุ่นพี่มาเต็ม ๆ กันเลยที่เดียวแต่ตัวเกมก็มีเสน่ห์ในแบบของตัวเองเป็นอย่างมาก ด้วยเนื้อเรื่องที่เข้มข้นน่าติดตาม และภาพกราฟิกสุดอังกาล เรามาดูรายละเอียดที่น่าสนใจกันเลยดีกว่า


เนื้อเรื่อง

โดยเนื้อเรื่องของเกมนี้ค่อนข้างยาว และซับซ้อน จึงขอย่อแบบสั่นที่สุดโดยเราจะได้รับบทเป็นตัวละครที่ถูกขับไล่ออกจากอาณาจักร และเราเองที่จะต้องกอบกู้อาณาจักร… จบ (เนื่องจากแอดมินเกรงว่าหากใส่เนื้อเรื่องแบบเต็ม ๆ เข้ามาละก็ เราคงไม่ได้รู้จักรูปแบบของเกมแน่ ๆ ด้วยเนื้อเรื่องที่ซับซ้อน และยาวโคตร ๆ แอดมินต้องขออภัยด้วยครับ สัญญาว่าจะลงเป็น Part แยกนะครับ)

รูปแบบการเล่น

สำหรับรูปแบบการเล่นของเกมนี้จะเป็นมุมมองของเกมแนว Hack & Slash โดยจะเป็นมุมมองที่อยู่ด้านบนของตัวละคร ทำให้สามารถมองเห็นตัวละครได้ในรอบด้าน และในส่วนของวิธีการเล่นนั้น สำหรับคนที่เคยเล่นเกมแนว ๆ Diablo นั้นคงจะคุ้นเคยกับเกมนี้เป็นอย่างดี โดยเราสามารถออกแบบตัวละครของเราได้ค่อนข้างมากเลยทีเดียว ไม่ว่าจะเป็นตัวละคร, อาวุธหลัก, สกิล, และความสามารถพิเศษ
สกิล skill

ถ้าพูดถึงเกมนี้คงไม่พูดถึงเรื่องนี้ไม่ได้เลย กับเรื่องของรูปแบบของสกิล และระบบ Passive หรือการอัพค่าสถานะ และความสามารถแบบรากต้นไม้(Skill Tree)ที่เป็นเสน่ห์ของเกมแนว Hack & Slash ในหลายๆเกม


Skill Gem

สำหรับสกิลภายในเกมนี้เราจะมาในรูปแบบของ Gem ซึ่ง Gem นั้นมีทั้งหมด 4 สีได้แก่ แดง(Red), เขียว(Green) ,น้ำเงิน(Blue) , และขาว(White) โดยการที่เราจะสามารถใช้สกิลได้นั้นเราต้องมีช่องภายในอุปกรณ์สวมใส่ของเราซะก่อน อย่างเช่น เราต้องการใช้ Gem สีแดงเราก็ต้องมีช่องใส่ Gem สีแดงก่อน ส่วน Gem สีขาวนั้นเราสามารถนำมาใส่ในช่องสีใดก็ได้ และ Gem แต่ละอันจะมีสกิล และความสามารถที่แตกต่างกัน แบ่งประเภทได้ดังนี้

การโจมตี Attack
การโจมตีระยะใกล้ Melee
การโจมตีด้วยธนู Bow
วัตถุหรือลูกพลัง Projectile (ลูกธนู,ลูกไฟ,หอกน้ำแข็ง,)
โดนเป็นลูกโซ่ Chaining
การโจมตีแบบกระแทก Strike (โดน 1 เป้าหมาย)
การโจมตีแบบกระแทก Slam (โดนเป็นกลุ่ม)
วงกว้าง AoE
กายภาพ Physical
เวทย์มน Spell
กับระเบิด&กับดัก Mine,Trap
มินเนี่ยน&โทเทม Totem,Minion
คำสาป&มาร์ค Hex,Curse,Mark
คำราม Warcry

ระยะเวลา Duration
ออร่า Aura (บัฟ)
ธาตุ Fire,Cold,Lightning

โดย Gem แต่ละอันนั้นสามารถใช้ด้วยกันได้อย่างเช่น ถ้าเราใช้ Gem ที่ใช้ยิงลูกไฟ โดยปกติจะสามารถยิงได้เพียง 1 ลูกแต่ถ้าหากเราใส่ Gem Support ที่เพิ่มจำนวนของลูกไฟ(Projectile) ก็จะสามารถยิงลูกไฟเพิ่มได้อีก ซึ่งระบบดังกล่าวทำให้เราสามารถออกแบบสกิลให้เข้ากับสไตล์การเล่นของตัวเองได้อย่างเต็มที่

Passive Skill
ต้องทำความเข้าใจก่อนว่าเกม POE นั้นไม่มีระบบการอัปสเตตัส (Status) แบบเกมแนว mmo rpg ส่วนใหญ่ที่สามารถอัปได้เพียงค่าพลัง และอย่างที่เรารู้กันดีว่าเกมแนว Hack & Slash อย่าง POE นั้นมักจะใช้ระบบ Skill Tree หรือการอัพค่าสถานะ และความสามารถแบบรากต้นไม้สำหรับ Passive Skill นั้นจะค่อนข้างซับซ่อน และดูยุ่งยากเอามาก ๆ  เลยล่ะ แต่ในความยุ่งยากนั้นกลับทำให้ผู้เล่นแต่ละคนนั้นสร้างสรรค์รูปแบบสกิล หรือความสามารถที่เป็นเอกลักษณ์ตามสไตล์การเล่นในแบบของตัวเองได้ จนกลายเป็นอีกหนึ่งสเน่ห์ของเกม และทำให้มีโอกาสน้อยมากที่ผู้เล่นจะมีตัวละครที่มีความสามารถคล้ายกัน นั่นจึงทำให้เกมมีความสนุกเอามากๆ

โดย Passive skill นั้นมีทั้งการอัปค่าสเตตัส Str, Dex, Int และยังมีความสามารถอื่น ๆ เช่น เพิ่มพลังชีวิต เพิ่มดาเมจ เพิ่มความเร็ว หรือเพิ่มขนาดของขอบเขตของสกิล ฯ

Ascendancy
Ascendancy ก็คือ Class หรือ อาชีพนั้นเอง ซึ่งเจ้าตัว Ascendancy นั้นจะทำให้เราสามารถอัปความสามารถเฉพาะของแต่ละอาชีพได้นั้นเอง โดยการที่เราจะได้รับความสามารถนั้นเราจำเป็นต้องใช้ Point หรือคะแนนอาชีพเพื่อนำมาอัพความสามารถของเรา โดยเราสามารถรับ Point เหล่านั้นได้จากการผ่านเขาวงกต หรืออีกชื่อก็คือ Lab และเมื่อเราสามารถผ่านเขาวงกต และเอาชนะผู้พิทักษ์ได้สำเร็จเราจะสามรถเข้าไปสู่ห้องเก็บสมบัติของเขาวงกตได้ และทุก ๆ การเอาชนะผู้พิทักษ์เราจะได้รับกุญแจที่สามารถนำไปเปิดกล่องสมบัติที่อยู่ภายในห้องเก็บสมบัติ และสามารถรับ Point Ascendancy ได้จากรูปปั้นภายในห้องดังกล่าว

ติดตามPartต่อไปได้ที่นี่